คดีครอบครัว
 
 

CRIMINAL LAW SECTION

Tel : (662) 168 7001 (-3)

Within Thailand, (02) 168 7001 (-3)

Fax: (662) 168 7004

Email: info@lawfirm.in.th

More About Chaninat and Leeds

  ประเภทกฎหมาย
  แนวคำพิพากษา
  ข่าวกฎหมายใหม่
  วีดีโอ
  เกี่ยวกับเรา
  ร่วมงานกับเรา
  ติดต่อเรา
 

 

 
Home  /  Contact print symbol Print Page



คดีหมิ่นประมาทในประเทศไทย

กฎหมายว่าด้วย การหมิ่นประมาท ในประเทศไทย

การหมิ่นประมาท มีการให้คำนิยามไว้อย่างชัดเจนในกฎหมายไทย ได้แก่ ในประมาวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งอาจสรุปเป็นคำนิยามได้ว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท...” และในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยเรื่องละเมิด มาตรา 423 “ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี...”
โดยทั่วไปการหมิ่นประมาทมักเกิดขึ้นจากสาเหตุทางธุรกิจ หรือผลจากความขัดแย้งทางด้านธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การหมิ่นประมาทก็อาจเกิดจากความเห็นทางการเมืองที่ไม่ตรงกัน หรือการแสดงออกในเรื่องต่างๆต่อสาธารณะชน ในประเทศไทยการหมิ่นประมาทอาจเป็นได้ทั้งความผิดทางแพ่งและทางอาญา ต่างจากในประเทศฝั่งตะวันตก

หมิ่นประมาทตามกฎหมายไทย

กฎหมายว่าด้วยหมิ่นประมาทของไทยจะต้องแยกพิจารณาเป็นการหมิ่นประมาทในทางแพ่ง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายว่าด้วย “ละเมิด” และส่วนที่เป็นความผิดในทางอาญา
การหมิ่นประมาทในทางอาญานั้น มีการกำหนดข้อยกเว้นที่ไว้ชัดเจนว่าการกระทำใดจะไม่ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาท ดังนี้:
มาตรา 329 บัญญัติว่า
            "ผู้ใดแสดงความแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
                (๑) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
                (๒) ในฐานะเจ้าพนักงานปฎิบัติการตามหน้าที่
                (๓) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
                (๔) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
             ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท"
กฎหมายได้กำหนดข้อยกเว้นในเรื่องของการแสดงความคิดเห็น การกล่าวถ้อยคำด้วยเจตนาอันสุจริตไว้ ถึงแม้การกล่าวถ้อยคำ หรือแสดงความเห็นนั้นๆจะกระทบกับบุคคลอื่นอันมีผลคล้ายการหมิ่นประมาทก็ตาม

การหมิ่นประมาทด้วยการเขียนหรือทางตัวหนังสือ กับ การหมิ่นประมาทด้วยคำพูด

เมื่อการกระทำที่เป็นการหมิ่นประมาทได้ถูกบันทึกไว้ไม่ว่าจะด้วยการจัดทำเป็นเอกสาร, บันทึกเสียง หรือบันทึกภาพและเสียง (วีดีโอ) ความรับผิดในการกระทำจะสูงขึ้นกว่าการกระทำหมิ่นประมาทในกรณีธรรมดา ในกรณีที่การกระทำหมิ่นประมาทไปปรากฎในรูปของข้อมูลอิเลกทรอนิค อย่างเช่น การเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ความรับผิดของผู้กระทำจะถูกดำเนินการฟ้องร้องบนพื้นฐานของกฎหมายว่าด้วยหมิ่นประมาทโดยทั่วไป สามารถที่จะถูกดำเนินการตามกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับการกระทำผิดทางอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีได้อีกด้วย